เหลืองจันทบูร / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย Heinrich Gustav Reichenbach (1823 - 1889) นักพฤกษศาสตร์และนักกล้วยไม้ชาวเยอรมัน ตีพิมพ์ใน Gardeners' Chronicle. เมืองลอนดอน ในปี ค.ศ.1887 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำลูกกล้วยเรียวยาว โคนสอบ ยาว 40-70 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ผิวแห้ง เป็นสันและร่องตามยาว ใบรูปใบหอก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างบาง เเต่เหนียว เรียงสลับเกือบตลอดต้น ช่อดอกเกิดใกล้ปลายยอด ช่อละ 3-6 ดอก ก้านดอกยาว 5-6 เซนติเมตร ดอกขนาด 3.5-4 เซนติเมตร ผิวกลีบมันเล็กน้อย มี 2 พันธุ์คือ พันธุ์ที่มีดอกเหลืองล้วน และพันธุ์ที่มีแต่มสี่ม่วงแดงสองเเต้มบริเวณโคนกลีบปาก ดอกบานทน 3-4 สัปดาห์ นิเวศวิทยา: ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม บางครั้งทิ้งใบในช่วงมีดอก กล้วยไม้อิงอาศัย พบในปาดิบแล้งที่โล่งแจ้ง แสงแดดจัดถึงร่มรำไร การกระจายพันธุ์: กล้วยไม้ถิ่นเดียวที่พบเฉพาะในประเทศไทย ข้อมูลชีววิทยาอื่น ๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนสัญญาไซเตส เป็นกล้วยไม้ถูกรุกรานและมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เอกสารอ้างอิง: พืชอนุรักษ์ในบัญชีไซเตส (CITES) กล้วยไม้ป่าในผืนป่าตะวันออก ตอนที่ 1 orchid_west.pdf


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Dendrobium friedericksianum Rchb.f.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง